จากเสียงฉาบแบบคลาสสิคในยุคทองของร็อค จนถึงเสียงในแนวดนตรีสมัยใหม่ (Postmodern Music) เพ้สตี้ได้นำเสนอทางเลือกมากมาย สำหรับมือกลองไม่ว่าจะต้องการเสียงในแขนงใดของสาขาดนตรี
เมื่อพวกมือกลองพูดถึงฉาบและผู้ผลิตฉาบ แนวคิดแบบดั้งเดิม สูตรลับในการผลิต และ มรดกตกทอดของครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น คือเสียงสะท้อนที่ผ่านการพูดคุยหารือกันในสิ่งเหล่านี้ เพ้สตี้ ครอบครัวเจ้าของบริษัทผู้อยู่ในธุรกิจการผลิตฉาบมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปีจึงไม่อาจถูกมองข้ามไปได้ หากเราต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องราวประวัติของเพ้สตี้ คุณจะต้องย้อนเวลาหาอดีตจากยุคของมือกลองสมัยใหม่กลับไปในยุคต้นทศวรรษ 1900 |
หลังจากการรับใช้ชาติโดยการเป็นทหารในกองทัพรัชเซียมาเป็นเวลา 20 ปี มิคาอิล ทูมาส เพ้สตี้ ผู้ซึ่งเป็นทั้งผู้ประพันธ์เพลงและนักดนตรีตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตหลังราชการเปิดร้านขายเครื่องดนตรีใน เซ้นต์ ปีเตอร์สเบิร์ก นอกเหนือจากขายเครื่องดนตรีแล้ว ทางร้านยังได้เปิดแผนกผลิตเครื่องดนตรีขนาดเล็กและแผนกซ่อมอีกด้วย
ในสมัยนั้นขณะที่ยังไม่มีการบริการทางไปรษณีย์อย่าง UPS หรือ FedEx สมัยที่ยังไม่มีการผลิตฉาบในประเทศ ฉาบจากตุรกีและจีนได้ถูกผลิตขึ้นในดินแดนที่ไกลเกินกว่าที่จะสะดวกในการสั่งซื้อ และสิ่งเหล่านี้เองที่ผลักดันให้มิคาอิลคิดที่จะผลิตฉาบขึ้นที่ร้านของเขาเองเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ |
การปฏิวัติรัชเซียในปี 1917 ส่งผลให้มิคาอิลต้องจำใจปิดร้านของเขา และ ย้ายกลับไปอยู่ที่บ้านเกิดของเขาที่เมืองทาลนินท์ ประเทศเอสโทเนีย และในปี 1930 เขาและลูกชายของเขา มิคาอิล เอ็ม เพ้สตี้ได้เข้ามาช่วยกิจการของครอบครัว ซึ่งในช่วงนี้บริษัทได้ใส่ใจเป็นพิเศษในการผลิตฉาบ เพราะนอกเหนือจากการขายภายในประเทศแล้ว ในการเริ่มต้นธุรกิจของเพ้สตี้ ได้มีการระบุว่าฉาบของเพ้สตี้ ได้ถูกส่งออกไปขายทั่วยุโรป รวมถึงบริษัทกลอง Ludwig ในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย
ในปี 1939 เป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ครอบครัวของเพ้สตี้ต้องอพยพไปอยู่ที่ประเทศโปแลนด์และประเทศเยอรมันในเวลาต่อมา มิคาอิล เอ็ม เพ้สตี้ได้รับตำแหน่งเป็นช่างโลหะซึ่งมีหน้าที่ทำงานในการสนับสนุนสงคราม มิคาอิลได้โน้มน้าวผู้บังคับบัญชาว่า เขาสามารถที่จะผลิตฉาบที่เสียงดีได้ และ เขาก็ได้รับอนุญาตให้ได้รับโลหะจำนวนไม่มากนักแค่พอเพียงสำหรับการทำฉาบสำหรับวงโยธวาทิตของกองทัพเท่านั้น |
เรื่องใหญ่ที่สุดสำหรับการผลิตฉาบในต้นศตวรรษที่แล้วคือมันเป็นเรื่องยากเย็นในการเสาะหาโลหะที่มีคุณภาพ และสิ่งนี้เองที่ทำให้เห็นถึงความสามารถพิเศษของครอบครัวเพ้สตี้ในวิธีการผลิตฉาบแบบดั้งเดิม ในการที่จะสร้างชิ้นงานให้ได้เสียงที่ดีที่สุด นวัตกรรมการขึ้นรูป เทคนิคการใช้ค้อนตี เพื่อชดเชยวัตถุดิบที่คลาดแคลน เทคนิคต่างๆ ที่ได้สั่งสมในสมัยนั้นปัจจุบันยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวิธีดั่งเดิมของครอบครัวเพ้สตี้ซึ่งนำมาใช้ที่โรงงานสมัยใหม่ที่เมืองนอตต์วิลล์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งโลหะผสมคุณภาพดีที่สุดได้ถูกสำรองไว้อย่างมากมาย
|
แล้วทำไมต้องเป็นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์? เป็นเพราะความสามารถของเหล่าช่างฝีมือภายในประเทศหรือ? หรือเป็นเพราะแหล่งของโลหะผสมชั้นเยี่ยมมีมากเพียงพอ? จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ฉาบของเพ้สตี้
สวิตเซอร์แลนด์ถูกเลือกเพราะเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ประเทศที่มีความเป็นกลางที่ซึ่งเพ้สตี้สามารถลงหลักปักฐานได้อย่างยั่งยืน ครอบครัวเพ้สตี้ได้ดำเนินการผลิตฉาบอยู่ที่นี่มาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษโดยปราศจากการรบกวนใดๆ |
ในกลางยุคศตวรรษที่ 20 มีการปฏิวัติแนวดนตรีอย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาถึงของร็อคแอนด์โรล์ ซึ่งแผ่ขยายไปทั่วทั้งปฐพี ก่อให้เกิดมีมือกลองรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการสั่งซื้อกลองชุดและฉาบ โรเบิรต์และทูมาส บุตรชายทั้งสองของมิคาอิลได้นำบริษัทมุ่งไปข้างหน้าด้วยการนำเสนอโลหะผสมคุณภาพเยี่ยม และ ฉาบรุ่นใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและการพัฒนาของมือกลอง
ในปลายทศวรรษ 1950 สายการผลิตฉาบรุ่น ฟอร์มูล่า 602 (Formula 602) ได้ถูกเปิดตัวขึ้น ตามมาด้วยรุ่น ไจแอนท์ บีท (Giant Beat) ในปี 1967 และ รุ่น 2002 ซึ่งถูกเปิดตัวขึ้นในปี 1971 มือกลองระดับพระกาฬในยุคนั้นเริ่มหันมาใช้ฉาบของเพ้สตี้ รวมถึง จอนห์ บอนแฮม มือกลองวง เลด แซพพลิน ผู้ที่พึงพอใจในฉาบเพ้สตี้ และ ใช้ฉาบเพ้สตี้ตลอดอาชีพของเขา |
มุ่งหน้าสู่ในศตวรรษนี้ ในปี 2003 เอริค เพ้สตี้ บุตรชายของทูมาสได้ขึ้นกุมบังเหียนของกิจการของครอบครัว หลังจากได้ใช้เวลาในสาขาของบริษัทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็คือ เพ้สตี้ อเมริกา ปัจจุบันนี้เอริคยังคงแบ่งเวลาของเขาระหว่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าไม่เพียงแค่ยังคงรักษาวิธีการผลิตฉาบแบบดั้งเดิมของครอบครัวไว้ แต่ยังคงเดินก้าวหน้าต่อไปด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างฉาบเพ้สตี้รุ่น ซิกเนเจอร์ ดาร์ค เอ็นนีจี้, รุ่น ซิ้กเนเจอร์ พรีซีชั่น, รุ่น ฟอร์มูล่า 602 โมเดิรน์ เอ็สเซ็นเชียล รุ่นมาสเตอร์และรุ่น 2002 บิ๊กบีท
|
เอริคกล่าวว่า “มือกลองทุกคนไม่ว่าจะเป็นศิลปินระดับแนวหน้า หรือ ระดับที่เล่นอยู่กับบ้าน ทุกคนมีสิทธิที่จะใช้ฉาบคุณภาพที่ดีเหมือนกัน ไม่มีความลับใดๆ ทั้งสิ้นที่นี่ มือกลองทุกคนมีโอกาสที่จะเข้าถึงฉาบที่มีคุณภาพและเสียงที่ดีได้เหมือนกัน เครื่องดนตรีที่ดีจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เล่นสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตฉาบ มันช่างเป็นความรู้สึกที่พิเศษที่รู้ว่าเรากำลังช่วยให้ศิลปินรังสรรค์งานดนตรีดีๆ และ มันยังเป็นสัญลักษณ์แห่งสัมพันธ์ภาพอีกด้วย”
|
ปัจจุบันเพ้สตี้ดำเนินการผลิตอยู่ใน 2 ประเทศ โรงงานหลักอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ อีกโรงงานอยู่ในประเทศเยอรมันที่ซึ่งผลิตฆ้อง (Gong) และ ฉาบรุ่น 101, PST3, 201, PST5 และ Alpha
โรงงานที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เปรียบเสมือนตัวแทนแนวคิดในเรื่องคุณภาพและความซื่อตรง พนักงานจำนวนมากได้ทำงานที่นี่มาอย่างยาวนานกว่า 20, 30 หรือ 40 ปี มีพนักงานรายหนึ่งทำงานมายาวนานกว่า 50 ปี จากพนักงานคนแรกที่เริ่มหลอมแผ่นโลหะจนถึงพนักงานผู้ทดสอบฉาบทุกๆ ใบของบริษัทด้วยมือ พนักงานทุกๆ คนของเพ้สตี้มีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือผลิตฉาบให้ได้เสียงที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ |
จุดโฟกัสเริ่มต้นด้วยการประชุมของฝ่ายพัฒนาเรื่องเสียง (Sound Development) หลังจากเป็นหัวหอกของฝ่ายวิจัยและพัฒนามาหลายทศวรรษ โรเบิรต์ เพ้สตี้ ได้จัดตั้งกลุ่มทำงานซึ่งประกอบด้วยบรรดามือกลอง และ ผู้เชี่ยวชาญจากฝ่ายผลิต ผู้ซึ่งเสาะแสวงหาเสียงและแนวดนตรีใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่มือกลองต่างๆ ต้องการ
เมื่อทีมงานได้กำหนดเสียงใหม่ของฉาบที่ต้องการแล้ว เราจะผลิตฉาบขึ้นมาสัก 2 ถึง 3 ใบ โดยให้ได้เสียงฉาบตามที่เราได้กำหนดไว้ และเมื่อฉาบต้นแบบได้ถูกปรับแต่งเสียงจนเข้าที่แล้ว ฉาบนั้นจะถูกทำเครื่อหมาย “klang muster” ซึ่งมีความหมายว่า “sound master” (ต้นแบบของเสียง) |
Sound Master อาจถูกทำออกมาในหลายรูปแบบ อาทิเช่น รูปแบบของการตีโดยค้อนซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับเรื่องของเสียงและรูปร่างของฉาบ Sound Master ซึ่งมีผิวที่ถูกขึ้นรูปและแต่งผิวโดยค้อนจะถูกปล่อยไว้อย่างนั้นโดยไม่ถูกกลึงผิวหน้าออก เพื่อที่ช่างฝีมือผู้ใช้ค้อนตีฉาบจะได้ใช้มันเพื่อเป็นแนวทางของพวกเขา
การกระทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เหล่าช่างฝีมือได้มีตัวอย่างเพื่อใช้อ้างอิงตลอดสายการผลิต เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าฉาบที่ถูกผลิตขึ้นมานั้นจะเหมือนกับ Sound Master ความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าฉาบที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่นั้นมีคุณภาพและมีความสม่ำเสมอเหมือนกับ Sound Master |
ขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต ฉาบทุกๆ ใบจะผ่านการควบคุมดูแลคุณภาพเป็นอย่างดีจากแผนกควบคุมคุณภาพ (Qualtiy Control) ฉาบทุกๆ ใบจะถูกทดสอบโดยมือและหูของมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับ Sound Master (ต้นแบบของเสียง) เรื่องระดับสูงต่ำของเสียงอาจที่จะไม่ต้องเหมือนเปะ แต่คุณลักษณะเฉพาะจะต้องเหมือนกับ Sound Master
ถ้าหากว่าคุณภาพของฉาบไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของ Sound Master ฉาบจะถูกคัดออกโดยถูกตัดครึ่ง และถูกจำหน่ายออกไปเป็นเศษโลหะ ซึ่งจะไม่มีการนำโลหะเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่ในการผลิต ดังนั้นจะไม่มีฉาบเกรด 2 หรือของมีตำหนิเล็ดลอดออกมาจากโรงงานเพ้สตี้เพราะว่าฉาบทั้งหมดที่ออกมาจากโรงงานของเราคือฉาบคุณภาพชั้นหนึ่ง |
มีการถกเถียงกันถึงการเทียบเสียงของฉาบกับ sound master ขบวนการผลิตจะไม่ยินยอมให้ฉาบที่ผลิตออกมามีคุณลักษณะแตกต่างจากฉาบต้นแบบ พวกเราพอใจในความสม่ำเสมอซึ่งถือเป็นปรัชญาของพวกเรา “เรานำเสนอฉาบราว 400 รุ่นอยู่ตลอดเวลา” เอริคกล่าว “มือกลองผู้ใช้ฉาบของเราสามารถเปลี่ยนฉาบใบเก่า และ รู้ว่าฉาบใบใหม่จะให้เสียงที่เหมือนกับฉาบใบเดิมที่เคยใช้” ถ้าหากเขาเหล่านั้นต้องการเสียงแบบอื่นๆ เราก็มีรุ่นอื่นๆ ให้ทดลอง และฉาบเหล่านี้จะถูกผลิตขึ้นมาอีกอย่างมีความเป็นมาตรฐานและสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อความต้องการฉาบของผู้บริโภค
|
เนื่องจากฉาบซึ่งมีให้เลือกอย่างมากมาย และ ยังมีการเพิ่มรุ่นใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ร้านเครื่องดนตรีบางร้านจึงดูเหมือนว่าไม่มีพื้นที่มากพอที่จะโชว์ฉาบทุกๆ รุ่นของเพ้สตี้ได้ ทางบริษัทได้ตระหนักถึงเรื่องนี้จึงได้จัดทำเว็บไซต์ซึ่งได้รวมเอาตัวอย่างเสียงต่างๆ ของฉาบเพ้สตี้แต่ละรุ่นรวมถึงเสียงที่เกิดจากลักษณะการตีที่หัวเบล ที่กลางฉาบ ที่บริเวณริมขอบฉาบ ฉาบไรด์ และ ฉาบไฮแฮท รวมถึงตัวอย่างการตีฉาบในรูปแบบจังหวะต่างๆ เราอยากที่จะให้มือกลองทั้งหลายลองฉาบแต่ละรุ่นออนไลน์โดยใช้หูฟังหรือลำโพงคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ แล้วจึงค่อยส่งฉาบที่มือกลองต้องการมาทางร้านค้า
|
สำหรับผู้ซึ่งต้องการลิ้มลองกับนวัตกรรมใหม่ๆ น่าจะลองดูรุ่น ริเท็มเมทิก บลูเบลไรด์ ที่ใช้โดย สจ๊วต โคปแลนด์ (Stewart Copeland) ฉาบที่มีสีน้ำเงินสะดุดตา และกราฟิกที่เป็นเอกลักษณ์ ฉาบรุ่นนี้ใช้สูตรและกรรมวิธีเดียวกันกับคัลเลอร์ซาวดน์ (ColorSound) ซึ่งได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 25 ปีก่อน โดยที่มั่นใจได้ว่าสีจะไม่หลุดลอกออก
|
สำหรับผู้ที่อยู่ในตลาดที่พอมีกำลังซื้อ แต่ต้องการฉาบที่มีคุณภาพที่เที่ยงตรง ฉาบรุ่น 101, PST3, 201 และ PST5 น่าจะเป็นรุ่นที่เหมาะสม โดยฉาบเหล่านี้ผลิตโดยโรงงานของเพ้สตี้ในประเทศเยอรมนี ที่ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ไฮเทคและทันสมัยในการผลิตฉาบโดยผสมผสานกับเทคนิคการผลิตฉาบแบบดั้งเดิมด้วยมือจากโรงงานประเทศสวิตเซอร์แลนด์
|
ที่โรงงานในประเทศเยอรมนียังผลิตฆ้อง (Gong) อีกด้วย โดยใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิมและเก่าแก่ผสมผสานกับโลหะผสมนิกเกิ้ลซิลเวอร์ (Nickle Silever Alloy) โดยมีฆ้องที่ใช้สำหรับวงซิมโฟนี่ การเจริญสมาธิ หรือแม้กระทั่งการกระตุ้นจักกระ สำหรับผู้เล่นกลองชุดที่อยากให้กลองชุดดูอลังการขึ้นคงต้องใช้ฆ้องที่ใช้กับวงซิมโฟนี่ ซึ่งสามารถสั่งทำได้จนถึงขนาด 80 นิ้ว (7 ฟุต) ฆ้องที่ใหญ่ที่สุดในโลก!
|